วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 7 การปฏิบัติการประกอบคอมพิวเตอร์


1.ประเภทของคอมพิวเตอร์

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
          ซูเปอร์คอมพิวเตอร์  ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก  และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก  มีขนาดใหญ่  สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลาย    แสนล้านครั้งต่อวินาที  และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทาง วิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว  เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวันการศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวด ล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้  อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น  ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่า นั้น  เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง  ดังนั้น  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากๆ  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท  ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing  unit)   ๑  หน่วย  จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงาน    หลายอย่างได้พร้อมๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
          เมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์ คอมพิวเตอร์มาก  แต่ยังมีความเร็วสูงมาก  และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน  ฉะนั้น  จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้  โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก  ปัจจุบัน  องค์กรใหญ่ๆ  เช่น ธนาคาร  จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า  หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ  (automatic  teller  machine)เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ ใช้พร้อมๆ กัน  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์
          มินิคอมพิวเตอร์   คือ  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน  แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ได้  จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง  หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์
          ไมโครคอมพิวเตอร์  คือ  คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop  computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น  อาทิเช่น  ขนาดสมุดบันทึก (notebook  computer)  และขนาดฝ่ามือ  (palmtop computer)  ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ.  ๒๕๑๘  ถึงแม้ว่าในระยะหลัง  เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง  แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด  ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว  ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูก  ออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน  โรงเรียน  และสำนักงานสำหรับที่บ้าน  เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วย ทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร  การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic  mail หรือ  e - mail)  หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet  phone)  ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ  หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง  เช่น  การ   เล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  สำหรับที่โรงเรียน  เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจาก ทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน  เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ    เก็บและค้นข้อมูล  วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

คอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆอนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่ว ไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น

ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มา ใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น

2. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์





ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่าง กัน

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำ งาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


3. กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input  Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1  รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่ม ต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่าง  ๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นเกมส์  เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2  ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อ นำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ  การประมวลผลอาจจะมีได้หลายรูปแบบ เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3  แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็น การนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “จอมอนิเตอร์” (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานของเรา ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น สะดวก ขึ้นและแม่นยำมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ให้ได้ผลเต็มที่เราจึงต้องเรียนรู้วิธีการทำ งานตลอดจนลักษณะต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วน การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าคือเมาส์  คีย์บอร์ด ฯลฯ
ขั้น ตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ หรือ CPU (Central Processing Unit) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า (Chip) เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ ประมวนผลคำสั่ง และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ
ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ หน่วยเก็บข้อมูลคือ ฮาร์ดดิสก์   ดิสเกตส์   ซีดีรอม ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลลัพธ์ เป็นอุปกรณ์ที่นำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์  เป็นต้น
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
                การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้นั้น  เครื่องจะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สมบูรณ์และเหมาะสมทั้งอุปกรณ์หลักภายใน ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมต่อพ่วงภายนอกคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์มี ดังนี้
                1. จอภาพ (Monitor) อาจเรียกทับศัพท์ว่า มอนิเตอร์ (Monitor) , สกรีน (Screen) , ดิสเพลย์ (Display) ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์ มีทั้งสีและขาวดำ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสี
                2. ตัวเครื่อง (Computer Case) เป็นส่วนที่เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU , Driver , Chip ฯลฯ เป็นหัวใจของเครื่อง
                3. คีย์บอร์ด (Keyboard) หรือแป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดมีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่จะมีปุ่มพิมพ์พิเศษมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีด
                4. เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บังคับตัวชี้บนจอภาพ เพื่อเลือกคำสั่งต่าง ๆ แทนการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด
                5. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ
                6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยเอารูปภาพหรือข้อความมาสแกนเข้าไปไว้ในเครื่อง
                7. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ และแปลงข้อมูลจากสายโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การ ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างราบรื่นและไม่ติดขัดนั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ รวมทั้งอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ เช่น เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ ซีพียู ฯลฯ
1.1 ไมโครโปรเซสเซอร์
1.2 หน่วยความจำ
1.3 อุปกรณ์เก็บข้อมูล
1.4 อุปกรณ์รับข้อมูล/แสดงผล
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยในการแก้ปัญหาจากต้นจนจบ ทำงานรายละเอียดทุกขั้นตอน โปรแกรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในซีพียู หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Windows Xp และระบบปฏิบัติการ Linux , Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูป ของบริษัทต่าง ๆ ออกมาใช้งาน เช่น Excel , Photoshop และ Oracle เป็นต้น
ตัว เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Case) หมายถึง รูปร่างลักษณะทั่ว ๆ ไปของคอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องจะทำหน้าที่ห่อหุ้มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันตัวเครื่องมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ตัวเครื่องแบบแนวนอน (Desktop Case) เป็นการวางตัวเครื่องแนวนอนบนโต๊ะ แล้วนำจอภาพมาวางซ้อนไว้บนโต๊ะ
2. ตัวเครื่องแบบแนวตั้ง (Tower Case) เป็นการวางตัวเครื่องไว้ในแนวตั้ง โดยตั้งไว้บนโต๊ะ หรือบนพื้นก็ได้ แล้ววางจอภาพไว้ข้าง ๆ ตัวเครื่อง ปัจจุบันตัวเครื่องแบบนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก ไม่กินเนื้อที่และเคลื่อนย้ายได้สะดวก
3. ตัวเครื่องแบบรวมในชิ้นเดียว (All-In-One Case) เป็นการวางเอาตัวเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด รวมเป็นชิ้นเดียว คล้ายกับโทรทัศน์ ตัวเครื่องแบบนี้สะดวกในการเคลื่อนย้ายกะทัดรัด แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะหากอุปกรณ์ภายในชำรุดหรือเสียหาย ต้องรื้อทั้งชุด ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน
4. คอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพา หรือนำติดตัวไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวก มีแบตเตอรี่ป้อนไฟสำหรับเครื่อง เวลาออกไปใช้งานนอกสถานที่ มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา แต่มีความสามารถมากพอ ๆ กับเครื่องขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ มีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง
การ เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและลักษณะงานของผู้ใช้ เช่น หากผู้ใช้ต้องเดินทางไปไกล ๆ บ่อย ๆ ก็ควรใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อจะใช้ทำงานได้สะดวก แต่ก็มีข้อด้อยคือ มีความสามารถในการทำงานจำกัด และมีราคาแพงมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น